top of page

กินได้ ตาดี มีแรงเดิน…ให้ไม่ล้ม

กินอย่างไร…ให้ไม่ล้ม

การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุนั้น นอกจากการดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแล้ว อาหารเป็น

อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการหกล้ม หากผู้สูงอายุได้รับอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา และเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงจะช่วยให้ผู้สูงอายุลดความเสี่ยงต่อการหกล้มลงได้


อาหารบำรุงสายตา

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาทางด้านสายตา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ที่มีผลต่อการมองเห็น โรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตาที่พบได้บ่อยได้แก่ ต้อกระจก ต้อลม จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น เมื่อผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านสายตาจะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องดูแลรักษาดวงตาให้ดีเพื่อชะลอการเสื่อมของดวงตา โดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา

วิตามินเอ เป็นสารที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตา และมีบทบาทสำคัญในการมองเวลากลางคืน ซึ่งพบมากในผักจำพวก ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม ฟักทอง

วิตามินบี1 และบี12มีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจกได้ โดยแหล่งที่มีวิตามินชนิดนี้มากได้แก่ ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ นม

วิตามินซี เป็นที่รู้จักกันดีของการชะลอวัย ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยชะลอการเกิด ต้อกระจกได้อีกด้วย พบมากได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม ส่วนผัก ได้แก่ กะหล่ำดอกบร็อคโคลี่

วิตามินอี ก็เป็นวิตามินอีกตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา มีบทบาทช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก พบได้ในน้ำมันธัญพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด ถั่วเหลือง

เบต้าแคโรทีน(Betacarotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งมีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการมองเห็นในกลางคืนเช่นเดียวกับวิตามินเอ พบมากในผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม เช่น แครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง

ลูทีน และซีแซนทิน(Lutein and Zeaxanthin) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตาและเลนส์ตา มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดต้อกระจก และโรคจอประสาท ตาเสื่อม พบมากในผักโขม ไข่แดง ข้าวโพด บร็อคโคลี่

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นสารอีกตัวหนึ่งที่ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกโดยพบได้ใน หอยนางรม หอยลาย ตับไก่ เมล็ดทานตะวัน

สังกะสี(Zinc) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการทำให้จอประสาทตาเสื่อมช้าลงโดยแหล่งที่พบสังกะสีได้แก่ หอยนางรม ตับ เนื้อสัตว์

สารสกัดจากใบแปะก๊วย(Ginkgo biloba) นอกจากคุณสมบัติเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่สมองแล้ว

ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อระบบเลือด

กรดไขมันโอเมก้า 3(Omega-3) เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งพบมากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ผลไม้ที่พบได้เช่น ผลกีวี่


สรุป

การหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสาธารณสุข ภาวะสูงวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกายไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นจึงทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ การหกล้มเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเสียชีวิตโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป และในผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง65-69 ปีเมื่อเกิดการหกล้มจะพบปัญหากระดูกสะโพกหัก และจะพบปัญหานี้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในผู้สูงอายุ 85 ปีขึ้นไป โดย 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุที่เกิดปัญหากระดูกสะโพกหักจากการหกล้มจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหลังจากการหกล้ม และ2 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่เคยหกล้มไปแล้วมีโอกาสที่จะเกิดการหกล้มครั้งใหม่ได้อีกภายในเวลา 6เดือน ซึ่งผู้สูงอายุเพศหญิงมีโอกาสหกล้มได้มากกว่าเพศชาย

การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

1.ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

2.การส่งเสริมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุ

3.การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่

- สังเกตการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการตามวัยผู้สูงอายุ

- การดูแลตนเองเมื่อมีโรคประจำตัว

- ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

- ความรู้และการปฎิบัติตนเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในด้านอื่นๆ


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร :095-713-2222

การเดินทาง :https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

bottom of page