top of page

นอนกรนแก้ได้ | ไม่ต้องผ่าตัด


อาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ในรายที่มีเพียงอาการนอนกรน (ที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย) จะก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนใกล้ชิดและคนรอบข้าง แต่หากอาการนอนกรนนั้นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย นอกจากจะมีปัญหาที่กล่าวข้างต้นแล้วยังก่อผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้นั้นด้วย เพราะช่วงที่หยุดหายใจขณะหลับนั้น ออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง ที่เรียกว่าภาวะ Hypoxia ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายได้รับออกซิเจนไม่พอ เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกนอนไม่พอทั้งที่นอนมามากแล้ว มีอาการหงุดหงิด สมาธิแย่ลง

นอนกรนสามารถรแก้ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

วิธีทำให้หายนอนกรนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์รักษาการนอนกรน สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้


ปรับเปลี่ยนท่านอน: การนอนหงายเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนอนกรนมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มโอกาสที่กล้ามเนื้อภายในช่องปากหย่อนคล้อยจนปิดกั้นทางเดินหายใจ ท่านอนที่แนะนำคือ ท่าตะแคง


ลดความอ้วน: เหตุผลที่คนอ้วนมีโอกาสเกิดอาการนอนกรนมากกว่าคนผอมเพราะ ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่องคอมีความหนาตัวขึ้น จึงค่อยๆปิดกั้นทางเดินหายใจ อากาศที่ผ่านได้บางส่วนทำให้อวัยวะภายในเกิดการสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรนออกมาในที่สุด


งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน: เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ ซึ่งนำไปสู่ภาวะนอนกรนในที่สุด


หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน: เป็นเพราะการสูบบุหรี่ทำให้เนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนมีอาการบวมหรือเกิดอาการคัดจมูก ส่งผลให้หายใจติดขัดนำไปสู่อาการกรนในที่สุด


นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนล้า และเกิดภาวะการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นที่มาของโรคนอนกรน


หลีกเลี่ยงยาบางชนิด: เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง เป็นต้น เพราะเสี่ยงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนตามมา


ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: เพื่อช่วยเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย และลดการอุดกั้นในทางเดินหายใจ

 

วิธีทำให้หายกรนที่แนะนำไป เป็นการรักษาตนเองอย่างเบื้องต้น

หากวิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล คุณอาจมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ซึ่งอาจส่งผลเสียร้างแรงถึงชีวิต

 

เช็กด่วน ใครเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มีแนวโน้มที่จะพบมากในเพศชาย อายุ 30 ปี โดยความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 60 ของผู้มีน้ำหนักตัวมาก จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ ซึ่งผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน อาจหยุดหายใจระหว่างหลับได้มากถึง 15 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง นอกจากผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงดังที่กล่าวมา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังพบได้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางสรีรวิทยา ผู้ที่มีช่องจมูกตีบตัน เกิดการอุดกั้นของโพรงจมูก ต่อมทอนซิลโต มีสันจมูกเบี้ยว คด คอหนา รูปคางผิดปกติ และลิ้นโตกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับ

  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ มีปัญหาคัดจมูก หายใจไม่สะดวก เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะมีแรงต้านในโพรงจมูกสูงกว่าคนทั่วไป ทำให้ขณะหลับจะมีอาการแน่นหน้าอก และหายใจติดขัด

  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย

  • ผู้ที่มีความเครียดหรือความวิตกกังวล รู้สึกเหนื่อยล้ามาก

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน

  • ผู้ที่รับประทานยากลุ่มที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ

  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เสพติดการสูบบุหรี่ เพราะพฤติกรรมดังกล่าวนี้มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อช่องคอหย่อนตัวลงจนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากอุดกั้น

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมนอนหงายเป็นประจำ ท่านอนหงายเป็นท่าที่ทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดได้


การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

หากสนใจอยากรักษาโรคนอนกรน ขั้นต้นควรเข้าทดสอบการนอนหลับ เป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของร่างกายระหว่างการนอนหลับสำหรับการตรวจคุณภาพการนอนหลับ ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับการประเมินผล ตรวจวัดการทำงานของคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด ตรวจวัดระบบหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ

ตรวจความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจระดับออกซิเจนในแต่ละท่านอน ตรวจความดังของเสียงกรน และตรวจท่านอนที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจ

ซึ่งข้อมูลจะถูกประมวลผลโดยเครื่องตรวจการนอนหลับ และรายงานผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปัจจุบัน การทำ Sleep Test จัดเป็นการตรวจมาตรฐานสากล สำหรับการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea; OSA) รวมไปถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ


Century Care Center ให้บริการ Sleep Test โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอีกทั้งมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันที่น่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

 

ผู้สนใจเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ

เพื่อประเมินแนวทางการตรวจ Sleep test ที่เหมาะสมกับตัวเอง



เมื่อสงสัยว่าเรานอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Century Care Center ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการนอนกรน

บริการตรวจการนอนหลับให้คุณได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

bottom of page