นอนกรน เป็นของอันตรายที่ช่อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว คือ โรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งสามารถรักษาได้และช่วยลดปัญหาหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้
การนอนกรนไม่ได้เป็นปัญหาเพราะเสียงดังเท่านั้น แต่การนอนกรนส่งผลสุขภาพด้วย
การนอนกรน คือภาวะที่การนอนเสียงดังขณะหลับ โดยเสียงนั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน, ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน เนื่องจากมีการแคบลงของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อขากรรไกรล่าง ลิ้น และเพดานอ่อน ในขณะหลับทำให้ไปขัดขวางทางลมผ่านของการหายใจ นอกจากนี้ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า เนื้องอกในโพรงจมูก, ภูมิแพ้, ยานอนหลับ, ความอ้วน และการดื่มสุรา ล้วนเป็นสาเหตุโดยอ้อมของเสียงกรนดัง
การนอนกรน มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างไร?
ที่จริงแล้วนั้นอาการนอนกรนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงวัยสูงอายุ ก็มีโอกาสที่จะนอนกรนได้ทั้งนั้น เพียงแต่เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้วนั้นเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนมากขึ้นตามอายุดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดการนอนกรนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งนอกจากอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้นอนกรนแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดการนอนกรน ด้วยเช่นกัน
การกรนชนิดที่มีการหยุดหายใจเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ
มีการหมุนเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจผิดปกติ
มีความเสี่ยงต่อโรคสมองขาดเลือด
มีความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลว
มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
มีการเต้นของหัวใจผิดปกติในเวลากลางคืน
ปวดศีรษะตอนเช้า
ซึมเศร้า, ง่วงนอน, ขาดสมาธิ, ไม่แจ่มใสในเวลากลางวัน
มีความเสี่ยงกับอุบัติเหตุขณะขับรถ หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
รบกวนทำลายสุขภาพเพื่อนร่วมห้องนอน
ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ความรุนแรงระดับ 1 คือ การนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ
ความรุนแรงระดับ 2 คือ การนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
ความรุนแรงระดับ 3 คือ การนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) ถือเป็นความผิดปกติในการนอนหลับ มักมีความเกี่ยวข้องและเกิดขึ้นได้กับผู้ที่นอนกรน เป็นการที่ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วน ทำให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วง ๆ
ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ ?
หากคุณพบว่ามีการนอนกรนเสียงดังรบกวนการนอนของตัวเองหรือผู้ที่นอนอยู่ข้าง ๆ หายใจขาด ๆ หาย ๆ เหมือนคนหายใจติดขัด หายใจไม่สะดวก ลุกขึ้นมาหายใจเฮือกเหมือนคนขาดอากาศหายใจ เสียงการหายใจไม่สม่ำเสมอ หายใจเฮือกเหมือนสำลักน้ำลาย มีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ มีอาการนอนกระสับกระส่าย ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน ปวดศีรษะในตอนเช้า คอแห้ง เจ็บคอ ไม่มีสมาธิในการทำงาน สมาธิและความจำลดลง ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการต่อไป เพราะแพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน, การใช้ยา, การผ่าตัดต่างๆ เป็นต้น
วัดระดับการนอนกรนด้วยการทำ Sleep Test
Sleep test คือ การตรวจการนอนหลับ เพื่อสังเกตการทำงานของร่างกาย และหาสาเหตุของความผิดปกติต่าง ๆ ในระหว่างการนอนหลับ โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับได้ ร่วมกับการดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทางและนักเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนอน
การตรวจ Sleep test จะมีการติดอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้บันทึกการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ได้แก่ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด การหายใจเข้าออกทั้งทางจมูกและทางปาก คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ การขยับของกล้ามเนื้อตา แขนขาและกราม รวมทั้งบันทึกวิดีโอเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างนอนหลับ
เมื่อตรวจ Sleep test เสร็จแล้วแพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรง เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหลับ ภาวะเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ นอนแขนขากระตุกขณะหลับ การละเมอ ภาวะนอนไม่หลับ และความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ ได้
ดังนั้นการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test จะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติของการนอนหลับ ทำให้ดูแลและรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ให้ทุก ๆ เช้าที่ตื่นมาเป็นวันที่สดใส มีพลังในการทำงานได้อย่างเต็มที่
กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจ Sleep test
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยโรคประจำต่าง ๆ ได้แก่ หัวใจวาย ไตวาย เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
ผู้ที่แพทย์ได้วินิจฉัยว่าอาจเป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) หรือมีภาวะชักขณะนอนหลับ
ปัจจุบัน การทำ Sleep test ถือว่าเป็นการตรวจมาตรฐานสากล (Gold standard) สำหรับการวินิจฉัย โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เป็นตน
ผู้สนใจเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ
เพื่อประเมินแนวทางการตรวจ Sleep test ที่เหมาะสมกับตัวเอง
เมื่อสงสัยว่าเรานอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
Century Care Center ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการนอนกรน
บริการตรวจการนอนหลับให้คุณได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
留言