top of page

นอนกรน (ไม่รู้ตัว) เมื่ออายุมากขึ้น

อัปเดตเมื่อ 29 พ.ค. 2566



เคยไหมที่คนใกล้ตัวบอกว่าเรานอนกรน ทั้งที่จริงแล้วเราไม่เคยนอนกรน

หรือเพราะว่าอายุมากขึ้นทำให้เราะนอนกรนแบบไม่รู้ตัว


การนอนกรน เป็นปัญหาพบบ่อยเมื่อคนเราอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะหย่อนยานลง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปปิดทางเดินหายใจได้ง่าย ทำให้เกิดการนอนกรน

เสียงนอนกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก กระแสลมหายใจที่ถูกปิดกั้นไหลผ่านในลำคอไปกระทบลิ้นไก่ และเพดานอ่อน จนเกิดการสั่นมากกว่าปกติ ผลก็ คือ มีเสียงนอนกรนตามมา





การนอนกรน มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างไร?

ที่จริงแล้วนั้นอาการนอนกรนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงวัยสูงอายุ ก็มีโอกาสที่จะนอนกรนได้ทั้งนั้น เพียงแต่เมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้วนั้นเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนมากขึ้นตามอายุดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดการนอนกรนเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งนอกจากอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้นอนกรนแล้ว ปัจจัยอื่นๆ ก็มีส่วนทำให้เกิดการนอนกรน ด้วยเช่นกัน



สาเหตุของการนอนกรน

  1. มีไขมันส่วนเกินไปสะสมในช่วงคอ เบียดช่องหายใจให้แคบลง

  2. ดื่มสุรา หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับซึ่งมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลในการลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ขยายช่องหายใจ

  3. การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้ช่องคอระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทางเดินหายใจจึงตีบแคบลง เกิดการอุดตันนอนกรนได้ง่าย

  4. อาการคัดจมูกเรื้อรัง เช่น มีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ หรือเนื้องอกในจมูก

  5. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนอนกรนมากกว่าคนปกติ

  6. ลักษณะโครงสร้างของกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางร่นไปด้านหลัง ลักษณะคอยาว กระดูกโหนกแก้มแบน

  7. โรคที่มีความผิดปกติด้านฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroid) ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายกว่าคนทั่วไป


ถ้าเสียงนอนกรนนั้น ดังบ้าง เบาบ้าง เช่น นอนกรนแบบเสียงค่อยๆหายไป และกลับดังขึ้นมาอีก เป็นแบบนี้สม่ำเสมอ เหมือนเสียงดนตรี ให้คิดได้ว่าน่าจะมีปัญหาของการหายใจผิดปกติ อาจส่งผลให้เกิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

อาการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea (OSA)

อาการนอนกรน และหยุดหายใจเกิดขึ้นเฉพาะขณะหลับเท่านั้น เพราะสมองกําลังพักผ่อนทําให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ทํางานน้อยลง ท่อทางเดินหายใจส่วนต้นก็จะฟีบเข้าหากันเหมือนการดูดหลอดกาแฟ ทําให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ เนื่องจากขาดอากาศหายใจจึงต้องพยายามหายใจแรงขึ้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจนี้เมื่อสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นบ่อย ๆ ทําให้หลับไม่ลึกและรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวัน เพลีย และไม่สดชื่นเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น

  • ประสิทธิภาพการทํางานลดลง

  • ความจําไม่ดี หงุดหงิดง่าย ง่วง หลับใน และหากทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รักษาอาจนําไปสู่

  • โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้า


นอนกรนแบบไหนน่าเป็นห่วง

  1. นอนกรนเสียงดังมาก จนอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ต่อผู้ใกล้ชิด

  2. นอนกรนสลับกับหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ

  3. นอนกรนแล้วสะดุ้งเฮือก สำลักน้ำลาย หายใจไม่ออก

  4. รู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ไม่สดชื่นแม้ว่าชั่วโมงการนอนจะเพียงพอ

  5. ปวดมึนศีรษะแทบทุกเช้า

  6. ง่วงมากในตอนกลางวัน อาจเคยมีประวัติการเกิดอุบัตเหตุจราจรจากความง่วงนอน

  7. ปากแห้ง คอแห้ง เจ็บคอเมื่อตื่นนอน

  8. นอนกัดฟัน

การหายใจที่ติดขัดและเสียงนอนกรนที่ดัง ปลุกสมองให้ตื่นขึ้นวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุกๆ คืน ส่งผลให้สูญเสียสมรรถภาพในการนอนหลับ และส่งผลอื่นๆ ตามมา ทำให้ระบบต่างๆ สุขภาพร่างกายอ่อนแอไวขึ้น และยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ในอนาคตตามมา


การนอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อย เกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กถึงผู้สูงอายุ โดยอาการนอนกรนเป็นอาการแสดงหนึ่งภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งรบกวนสุขภาพการนอนหลับของคนใกล้ชิดและส่งผลเสียต่อสุขภาพตนเองในระยะสั้นและระยะยาว การนอนกรนไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ ที่จบแค่ในตอนที่นอนหลับเท่านั้น แต่ การนอนกรนอาจก่อให้เกิดอันตรายขณะหลับโดยไม่รู้ตัว และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน



เมื่อสงสัยว่าเรานอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ Century Care Center มีให้คำปรึกษาและบริการด้านการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test Center เพื่อให้คุณหมดกังวลและนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

bottom of page