“Ortho” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ทำให้ตรง ดังนั้นกายอุปกรณ์เสริม (orthoses or orthosis or orthotic) จึงหมายถึงอุปกรณ์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างภายนอกของร่างกาย เพื่อช่วยควบคุม จำกัดการเคลื่อนไหว พยุง ป้องกัน และลดน้ำหนักที่กระทำต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจะมีอุปกรณ์ที่จำเป็นอะไรบ้างในการฝึกทางกายภาพและการดำเนินชีวิต งั้นเราลองไปดูกันเลยครับ
อุปกรณ์พยุงข้อไหล่ (Bobath sling หรือ hemiplegia arm sling)
เป็นอุปกรณ์ในการช่วยพยุงข้อไหล่ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งอาการข้อไหล่เคลื่อนนั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อ่อนแรง ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงพอที่จะสามารถพยุงข้อไหล่ไว้ได้ ทำให้หัวกระดูกต้นแขนตกตามแรงโน้มถ่วงและค่อยๆเคลื่อนออกจากเบ้าซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการเจ็บข้อไหล่และอาจส่งผลทำให้เกิดการยึดติดของข้อต่อตามมาครับ
รูปแสดง อุปกรณ์พยุงข้อไหล่ (Bobath sling)
อุปกรณ์ดามมือ (Dorsal hand splint)
เป็นอุปกรณ์ดามที่อยู่ด้านบน (Dorsal surface) ของแขน ประคองให้ข้อนิ้วมือและข้อมือให้อยู่ในท่ากระดกข้อมือขึ้นประมาณ 15-20 องศา (Neutral) ข้อนิ้วมืออยู่ในท่างอเล็กน้อย (Slightly flexion) นิ้วหัวแม่มืออยู่ในท่ากางนิ้วออกเล็กน้อย อุปกรณ์นี้จะช่วยในการจัดวางท่าทางของข้อมือและข้อนิ้วมือ เพื่อป้องกันและลดการหดรั้งของกล้ามข้อมือและนิ้วมือ
รูปแสดง อุปกรณ์ดามมือ (Dorsal hand splint) (Dorsal hand splint)
อุปกรณ์พยุงข้อเท้า (Ankle foot orthoses : AFO)
ใช้บ่อยที่สุดในผู้ที่ข้อเท้าตก (foot drop) ข้อเท้าไม่มั่นคง (ankle instability) หรือภาวะที่มีการเกร็ง (spasticity) ซึ่งทำให้ปลายเท้าตกร่วมกับบิดเข้าทางด้านใน (plantar flextion และ inversion) เพื่อช่วยป้องกันการบิดหมุนของข้อเท้าในช่วงเท้าสัมผัสพื้น และช่วยยกเท้าขึ้นในช่วงเท้าลอยพ้นพื้น หรือก้าวขาไปทางด้านหน้านั้นเอง
รูปแสดง อุปกรณ์พยุงข้อเท้า (AFO)
จากที่กล่าวข้างต้น กายอุปกรณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการฝึกเดินและการดำเนินชีวิต เพื่อให้คนไข้ได้เกิดการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น บางอุปกรณ์อาจช่วยพยุงข้อต่อ เพื่อลดในเรื่องของอาการปวด และบางอุปกรณ์อาจจะช่วยในเรื่องของการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดการยึดติดข้อต่อที่เกิดขึ้นจากพยาธิสภาพโรคในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้ครับ
ปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
Kommentare