top of page

ใครเหมาะกับการรักษาด้วย TMS กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) หรือการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาและฟื้นฟูการทำงานของสมอง โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่เจ็บตัว

ปัจจุบัน TMS สามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว การพูด หรือการกลืน ซึ่งเกิดจากสมองบางส่วนเกิดความเสียหาย ซึ่งใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีนี้ที่ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ


TMS คืออะไร?

TMS คือ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบไม่รุกล้ำ (non-invasive) เพื่อกระตุ้นเซลล์สมองในบริเวณที่มีความผิดปกติ เช่น บริเวณที่สมองเกิดการขาดเลือดจากโรคหลอดเลือดสมอง การกระตุ้นนี้ช่วยให้เซลล์สมองได้เริ่มกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระตุ้นการสร้างเครือข่ายประสาทใหม่ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของสมองในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวหรือทักษะที่สูญเสียไป


ใครที่เหมาะกับการรักษาด้วย TMS ในกรณีฟื้นฟูผู้ป่วย Stroke?

1. ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของแขนหรือขาหลังเกิด stroke

TMS ช่วยกระตุ้นสมองฝั่งที่ได้รับความเสียหาย และส่งเสริมการเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหว


2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการพูดหรือการกลืน

เมื่อบริเวณสมองที่ควบคุมการพูดหรือกลืนได้รับความเสียหาย TMS สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทบริเวณนั้นเพื่อเร่งการฟื้นฟู โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับการฝึกพูดหรือการฝึกกลืนแบบเข้มข้น


3. ผู้ป่วยที่ผ่านการฟื้นฟูแบบทั่วไปแล้วไม่เห็นผลชัดเจน

ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการกายภาพบำบัดมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหวหรือประสิทธิภาพในการฟื้นตัวต่ำ TMS อาจช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตอบสนองดีขึ้นต่อการฟื้นฟู


4. ผู้ป่วยที่ต้องการเร่งกระบวนการฟื้นฟูให้เร็วขึ้น

การใช้ TMS ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นตัว โดยเฉพาะในช่วง 3–6 เดือนแรกหลังเกิด stroke ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของการฟื้นฟูนั่นเอง


การทำงานของ TMS ในผู้ป่วย Stroke

TMS ใช้ขดลวดแม่เหล็กวางบนหนังศีรษะ เพื่อส่งคลื่นแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะไปกระตุ้นสมองเฉพาะจุด เช่น บริเวณที่ควบคุมการเคลื่อนไหวหรือการพูด คลื่นแม่เหล็กจะไปกระตุ้นให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าในระดับเซลล์ ส่งผลให้ระบบประสาทสามารถปรับตัวและสร้างเครือข่ายใหม่ ช่วยให้การสั่งการและควบคุมการเคลื่อนไหวกลับมาดีขึ้น


การรักษาด้วย TMS คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมอง ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การพูด และการกลืน

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำ TMS

แม้การทำ TMS สามารถเริ่มได้ในช่วงหลายเดือนหรือแม้แต่หลายปีหลังเกิด stroke แต่ช่วงเวลาที่ได้ผลดีที่สุดคือ

  • ช่วง 1–6 เดือนแรก หลังเกิดสโตรก หรือเรียกว่า Golden period

  • สมองยังมีความยืดหยุ่นสูง และระบบประสาทยังสามารถปรับตัวได้ดี

  • เมื่อเริ่ม TMS ในช่วงนี้จะเพิ่มโอกาสฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเมื่อร่วมกับการฝึกต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังแล้วก็ยังสามารถใช้ TMS เพื่อกระตุ้นการตอบสนองในระบบประสาทที่อาจหลับอยู่ได้เช่นกัน


ข้อดีของ TMS ในการฟื้นฟูผู้ป่วย stroke

  • ไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องใช้ยาสลบ

  • ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว

  • สามารถใช้ควบคู่กับกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดได้

  • เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้มากในช่วงแรก


สรุป

หากคุณหรือคนในครอบครัวประสบภาวะอ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก หรือพูดไม่ชัดหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรักษาด้วย TMS อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเร่งฟื้นฟูสมองและการเคลื่อนไหวให้กลับมาใกล้เคียงเดิมที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง เพื่อประเมินความเหมาะสมของแต่ละราย


"ศูนย์เซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

การรักษาด้วย TMS คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมอง ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การพูด และการกลืน

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

Line : @ccnh





Comments


logocentury2.png
เซ็นจูรี่แคร์
บริการของเรา

ศูนย์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด
ซอยลาดกระบัง 24/1 แขวงลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

  • ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • ผู้ป่วยล้างไต

  • ดูแลผู้ป่วย

  • ดูแลผู้สูงอายุ

  • กายภาพบำบัด

580b57fcd9996e24bc43c523.png
Facebook_icon_2013.svg.png
icon-for-google-map-11_edited.png
HAPPY CLIENTS
bottom of page