top of page

ผักผลไม้ 5 สีมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!!

สีต่างๆที่เราสามารถพบเห็นในผักผลไม้ คือ สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients เป็นสารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้นั่นเองที่ทำให้ผักผลไม้ชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวสารแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้ นอกจากนี้ยังจัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่เราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการกินเข้าไปเท่านั้น

ผักผลไม้สีแดง

พบมากใน : บีทรูท มะเขือเทศ พริกหวาน เชอร์รี่ สตอเบอร์รี่ แตงโม แก้วมังกร และเม็ดเก๋ากีเป็นต้น

สารสำคัญ : ไลโคปีน (Lycopene)

ประโยชน์ :

- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

- ชะลอความเสื่อมของเซลล์

- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


ผักผลไม้สีส้ม-เหลือง

พบมากใน : ฟักทอง แครอท ส้ม มะละกอ มันเทศ เสาวรส และสัปปะรด เป็นต้น

สารสำคัญ : เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene)

ประโยชน์ :

- เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและการมองเห็น

- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

- บำรุงผิวพรรณ ลดเลือนริ้วรอย

- ลดไขมันในเส้นเลือด


ผักผลไม้สีเขียว

พบมากใน : บล็อกโคลี ถั่วลันเตา ผักบุ้ง คะน้า ชะอม กวางตุ้ง ตำลึง แอปเปิ้ลเขียว และฝรั่ง เป็นต้น

สารสำคัญ : สารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)

ประโยชน์ :

- ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย

- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

- บำรุงผิวพรรณ


ผักผลไม้สีม่วง-น้ำเงิน

พบมากใน : กะหล่ำปลีสีม่วง มะเขือม่วง เผือก มันม่วง องุ่น บูลเบอร์รี่ และลูกพรุน เป็นต้น

สารสำคัญ : สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)

ประโยชน์ :

- ยับยั้งและต้านการอักเสบในร่างกาย

- ต้านอนุมูลอิสระ

- บำรุงเส้นผม

- กระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่างๆ


ผักผลไม้สีขาว – น้ำตาล

พบมากใน : กระเทียม หัวไชเท้า ขิง ข่า เห็ด พุทรา ลองกอง ละมุด และถั่วงอก เป็นต้น

สารสำคัญ : อัลลิซิน (Allicin) และ แซนโทน (Xanthone)

ประโยชน์ :

- ช่วยลดการอักเสบ

- ลดไขมันในเลือด

- ลดความดันโลหิต

- รักษาระดับน้ำตาลในเลือด


ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบ การทำงานอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อภาวะโภชนาการ ทั้งปัญหาการขาดสารอาหาร และภาวะโภชนาการเกิน ปัญหาเหล่านี้จะชะลอหรือป้องกันได้เกิดจากการดูแลเอาใจใส่ เรื่องการกินอาหาร โดยผู้สูงอายุมีความต้องการอาหารเช่นเดียวกับวัยอื่นๆ การกิน อาหารต้องครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือการสวน แต่อาหารจะแตกต่างกันในด้านปริมาณ อาจจะต้องแบ่งเป็นมื้อว่างระหว่างวัน เพื่อให้กินได้มากขึ้น และลักษณะของอาหารต้องดูมีสีสันน่ากิน การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับวัย ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณร่วมกับการพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง รวมถึงมีภูมิต้านทานมากยิ่งขึ้น



 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

コメント


bottom of page