สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี 2574 หลาย ๆ ภาคส่วนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ ทั้งเพื่อพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี ลดภาระการดูแลของลูกหลาน อีกทั้งยังสามารถเป็นพลังของสังคมในอีกด้านหนึ่งด้วย
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ หลักการการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เป็นอีกแนวคิดสำคัญในการสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ในสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และครอบคลุมทุกความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุ คนทุกวัย และทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมซึ่งสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ โดยปราศจากอุปสรรค เพิ่มความสะดวกในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
Universal Design คืออะไร
Universal Design (UD) การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และสภาพแวดล้อมซึ่งปราศจากการออกแบบ หรือดัดแปลงเป็นพิเศษ แต่เป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางเท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ และสภาพร่างกาย หมายความรวมถึงการออกแบบสภาพแวดล้อม อาคาร สถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก สตรีมีครรภ์ ฯลฯ เน้นให้ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นประโยชน์ และตรงความต้องการของคนทุกกลุ่ม มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการใช้ได้ เป็นการออกแบบที่รองรับความสามารถหลากหลายของแต่ละบุคคล ใช้งานง่ายต่อความเข้าใจ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ และระดับความรู้ความสามารถ
องค์ประกอบและหลักการของ universal design ประกอบด้วยหลักสำคัญ 7 ประการ คือ
1. ความเสมอภาคใช้งาน (Fairness) ทุกคนในสังคมสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่น การติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 ระดับ
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility) สามารถใช้ได้กับผู้ที่ถนัดซ้ายและขวา หรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตาม ความสูงของผู้ใช้
3. มีความเรียบง่ายและเข้าใจได้ดี (Simplicity) มีความเรียบง่ายและเข้าใจได้ดี เช่น มีภาพหรือคำอธิบายที่เรียบง่ายสำหรับคนทุกประเภท ไม่ว่าจะมีความรู้ระดับไหนอ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากลสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย ฯลฯ
4. มีข้อมูลพอเพียง สำหรับการใช้งาน (Understanding) ความเข้าใจง่าย มีข้อมูล คำอธิบายหรือรูปภาพประกอบการใช้งานที่เพียงพอ
5. มีความทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด (Safety) มีความปลอดภัยขณะใช้งาน ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด เช่น มีระบบป้องกันอันตรายหากมีการใช้ผิดพลาด รวมทั้งไม่เสียหายได้โดยง่าย
6. ทุ่นแรง (Energy conservation) ทุ่นแรงกายสะดวกและไม่ต้องออกแรงมาก เช่น ใช้ที่เปิดก๊อกน้ำแบบยกขึ้น-กดลง แทนการใช้มือขันก๊อกแบบเป็นเกลียว เป็นต้น
7. มีขนาดและสถานที่ที่เหมาะสม (Space) สามารถใช้งานเผื่อสำหรับคนร่างกายใหญ่โต คนที่เคลื่อนไหวร่างกายยาก เช่น คนพิการที่มีรถเข็นคันใหญ่ต้องมีพื้นที่สำหรับหมุนรถกลับไปมาในบริเวณห้องน้ำ
หลักการออกแบบเพื่อคนทุกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์และสภาพแวดล้อม รวมถึงการออกแบบ อาคาร สถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางให้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดด้านอายุ และสภาพร่างกาย ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิงหากทุกคนให้ความสำคัญและใส่ใจ จะสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวก ลดการพึ่งพาและปลอดภัยยิ่งขึ้น
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
Comments