top of page

จัดท่านอนยังไงให้ปลอดภัย ในผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedics)

การจัดท่านอนเป็นสิ่งสำคัญมากในผู้ป่วยประเภทต่างๆ บางครั้งเราจำเป็นต้องศึกษาวิธีการจัดท่านอนของผู้ป่วยให้เหมาะสม หรือจะศึกษาเพื่อเป็นการดูแลเบื้องต้นหากเราจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในพยาธิภาพโรคต่างๆที่จะกล่าวต่อไป เพราะแค่การจัดท่านอน เราก็จะป้องกันภาวะข้อยึดติด ,กล้ามเนื้อตึงตัว รวมไปถึงป้องกันภาวะแผลกดทับได้ วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูวิธีการจัดท่านอนของผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสมทำอย่างไร ?

ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่กล่าวถึงได้แก่ ผู้ป่วยกระดูกหัก (fracture) , เปลี่ยนข้อสะโพก (arthoplasty)และผู้ป่วยผ่าตัดหลัง (spinal surgery) เราไปเริ่มเรียนรู้กันเลย


ผู้ป่วยกระดูกหัก (fracture)

ปัญหาของผู้ป่วยกระดูกหักที่ต้องคำนึงถึงถึงส่วนใหญ่คือ อาการปวด การบวม การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และการป้องกันการเคลื่อนหลุดของข้อต่อ การลงน้ำหนัก เป็นต้น ในที่นี้ขอยกตัวอย่างผู้ป่วยที่กระดูกหักที่ขาใส่เฝือก เบื้องต้นควรวางขาที่เจ็บไว้บนหมอนสูงๆ เพื่อป้องกันการบวม และช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น


รูปแสดงตัวอย่าง การจัดท่านอนในผู้ป่วยกระดูกหัก


ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ( hip replacement , hip arthroplasly)

ปัญหาของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกที่ต้องคำนึงถึงส่วนใหญ่คือ อาการปวด การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การป้องกันการเคลื่อนหลุดของข้อต่อ การลงน้ำหนัก เป็นต้น การจัดท่านอนและท่านั่งโดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดจนถึงช่วง 3 เดือน ที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนหลุดของข้อต่อและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมา มีอะไรบ้าง งั้นเราลองไปดูกันเลย

1. ห้ามงอสะโพกที่มากกว่า 90 องศา (hip flextion > 90 )

2. ห้ามหุบขาเข้าทางด้านใน (hip adduction)

3. ห้ามหมุนสะโพกหรือปลายเท้าเข้าด้านใน (hip internal rotation)

4. ห้ามนอนตะแคงทับขาข้างดี ให้นอนตะแคงทับข้างที่ผ่าตัด

5. ห้ามนอนหรือนั่งไขว่ห้าง

6. ห้ามนั่งให้เข่าสูงกว่าสะโพก

7. ห้ามโน้มตัวมาข้างหน้าหรือก้มลงไปเก็บของที่พื้น

รูปแสดงตัวอย่าง การจัดท่านอนในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก


ผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณหลัง (spinal surgery)

ปัญหาของผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณหลังที่ต้องคำนึงถึงส่วนใหญ่คือ อาการปวด การจำกัดการเคลื่อนไหว การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น หลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องนอนหงายราบ 24-48 ชั่วโมง โดยใช้หมอนรองใต้เข่า เพื่อลดการตึงของกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อบริเวณรอบสะโพก และกล้ามเนื้อต้นขา

รูปแสดงตัวอย่าง การจัดท่านอนในผู้ป่วยผ่าตัดบริเวณหลัง


ทั้งนี้ท่านอนอาจจะมีข้อห้าม ข้อควรระวังในผู้ป่วยแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน ฉะนั้นเราควรจัดท่านอนที่ถูกต้อง ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นครับ


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

bottom of page