top of page

รู้ทัน...เบาหวาน

เบาหวานเป็นภาวะที่มีนํ้าตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ การที่ร่างกายมีระดับนํ้าตาล ในเลือดสูงกว่าปกตินั้นก็หมายถึงการที่ร่างกายไม่สามารถดึงนํ้าตาลที่เราได้รับจากอาหารไปใช้ เป็นพลังงานได้

ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูง คืออะไร โดยทั่วไปเมื่อเรากินอาหาร นํ้าตาลที่เรียกว่ากลูโคสซึ่งได้จากกระบวนการย่อยอาหาร จะเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อที่ร่างกายจะดึงไปใช้ในรูปของพลังงาน กรณีที่เกิดความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถดึงนํ้าตาลชนิดนี้จากกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ซึ่งนั่นก็หมายถึง นํ้าตาล ยังหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดจํานวนมาก เราเรียกความผิดปกตินั้นว่า เบาหวาน

ประเภทของเบาหวาน มี2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

โรคเบาหวานประเภทที่ 1 (Type I Diabetes) เกิดจากตับอ่อนมีการหลั่งอินซูลินได้น้อย หรือหลั่งไม่ได้เลย ทําให้ไม่มีอินซูลินที่จะดึงนํ้าตาลเข้าสู่เซลล์ มักพบในเด็กและพบน้อย ถ้าได้ฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอก็สามารถดําเนินชีวิตปกติได้

โรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Type II Diabetes) เกิดจากการที่เซลล์ร่างกายโดยเฉพาะ ตับและกล้ามเนื้อดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) หมายถึงมีการหลั่งอินซูลิน แต่ร่างกาย ไม่สามารถนําอินซูลินไปใช้ได้เนื่องจากมีความผิดปกติในการทํางานของตัวรับอินซูลิน (Insulin receptor) ส่งผลให้ร่างกายพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น และสุดท้ายเมื่อนานขึ้น เซลล์ของตับอ่อนก็จะเสื่อมจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ โรคเบาหวานชนิดนี้เป็นเบาหวาน ชนิดที่พบเห็นกัน เป็นส่วนใหญ่การฉีดอินซูลินอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงต้องใช้ การควบคุมอาหาร ร่วมกับการออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังสูง ต้องกินยาด้วย


อาการบ่งชี้ของโรคเบาหวาน

ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรไปรับการตรวจเบาหวาน

• กระหายนํ้าบ่อย • ปัสสาวะบ่อย • หิวบ่อย • นํ้าหนักลด • ไม่มีแรง • ตาพร่า


ข้อปฏิบติการกินอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นโรคเบาหวาน

1. กินอาหารให้หลากหลายครบ 3 มื้อต่อวัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบตามที่ ร่างกายต้องการ โดยมีผักใบทุกมื้ออย่างน้อยมื้อละ 1-2 ทัพพี

2. เลือกอาหารที่มีค่าดัชนีนํ้าตาล*ตํ่าและมีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ่อมมือ ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด

3. เลือกอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลตํ่า โดยลดการกินอาหารที่ใส่กะทิไขมันสัตว์อาหารทอด อาหารที่ใส่เนย มาการีน ขนมอบประเภทเบเกอรีต่างๆ ถ้าไขมันในเลือดสูง ให้งด ไข่แดง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

4. เลือกกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น ปลา ไก่ (ไม่ติดหนัง) เต้าหู้หรือโปรตีนเกษตร และเลือกวิธีปรุงที่ไม่ใช้น้ำมันหรือใช้น้ำมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัด

5. เลือกอาหารที่มีรสเค็มน้อย หรือมีเกลือ/โซเดียมตํ่า

6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีนํ้าตาลเป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องดื่มรสหวาน ขนมหวาน ลูกอม ของเชื่อม เป็นต้น หรืออาจใช้นํ้าตาลเทียมแทนนํ้าตาลทราย กรณีต้องการดื่มเป็นครั้งคราว แนะนําควรดื่มนมพร่องมันเนยเป็นเครื่องดื่ม

7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพราะอาจเพิ่มปริมาณไขมันในเลือดได้

8. เรียนรู้ปริมาณอาหารที่ควรกินในแต่ละวันให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

9. เคลื่อนไหวออกกําลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อรักษานํ้าหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ให้ อ้วนหรือผอมเกินไป

10. เรียนรู้การใช้ยาที่แพทย์สั่งให้อย่างถูกต้อง


การใช้สารให้ ความหวานแทนน้ำตาลในผู้ ป่วยเบาหวาน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่

1. สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่นํ้าตาลฟรุคโตส (นํ้าตาลจากผลไม้) ซอร์บิทอล ไซลิทอล (นํ้าตาลแอลกอฮอล์) สารให้หวานกลุ่มนี้ไม่เหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมนํ้าหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน

2. สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย (สารสกัดจากหญ้าหวาน) แอสปาแตม อะซิซัลเฟม-เค และแซคคารีน สารให้ความหวานกลุ่มนี้เหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมนํ้าหนักและผู้ป่วยเบาหวาน


เทคนิคลดความหวาน

1. หยุดเติมนํ้าตาล เป็นวิธีง่ายที่สุด เช่น ไม่เติมนํ้าตาลในกาแฟ ชา นมถั่วเหลือง ก๋วยเตี๋ยว หรือเติมโดยลดปริมาณลงทุกครั้ง แม้แต่“นํ้าตาลสุขภาพ” (นํ้าตาลทรายแดง นํ้าตาลกรวด) เพราะให้พลังงานที่ว่างเปล่า เช่นเดียวกับนํ้าตาลขัดสีจนขาว คือ 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรีดังนั้น นํ้าตาล 1 ช้อนชา หนัก 4 กรัม ให้พลังงาน = 4 x 4 = 16 แคลอรี

2. ลดการบริโภคอาหารจําพวกคาร์โบไฮเดรตแปรรูป เช่น ขนมปังขาว เบเกอรีและ ของว่าง-ขบเคี้ยว ส่วนใหญ่ทํามาจากแป้ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปเป็นนํ้าตาลในเลือดได้เร็ว หรือคาดัชนีนํ้าตาลสูงพอๆกับการกินกลูโคส นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้จะถูกเก็บสะสม เป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายเก็บเป็นเสบียงและทําให้อ้วน ดังนั้นควรเลือกกินขาวกล้อง ในปริมาณที่แนะนำ

3. ระวังการบริโภคของว่างไร้ไขมัน จากความเชื่อผิดๆ ที่ว่าถ้าอาหารไร้ไขมันจะไม่ ทําให้อ้วนจริงๆ แล้วก็คืออาหารไร้ไขมัน ไม่ได้หมายความว่าไร้แคลอรี นอกจากนี้ส่วนใหญ่มัก จะมีนํ้าตาลมากด้วย

4. ทําตัวเป็นนักสืบอาหาร โดยอ่านฉลากอาหารเพื่อค้นหานํ้าตาลและไขมันไม่ดี ตัวอย่างการคำนวณปริมาณน้ำตาล จากข้อมูลโภชนาการที่แสดงปริมาณนํ้าตาล ทั้งหมดเป็น กรัมแล้วหารด้วยสี่ ผลลัพท์ที่ได้คือ ปริมาณนํ้าตาลเป็นช้อนชาในอาหารนั้น

5. ระวังสารให้ความหวานเทียมหรือสารทดแทนความหวาน ซึ่งอาจทําให้ร่างกายมี ความอยากนํ้าตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจลดระดับโครเมียมที่สะสมใน ร่างกาย และโครเมียมเป็นแร่ธาตุสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการรักษาระดับนํ้าตาลในเลือด

6. จํากัดปริมาณผลไม้ อย่ากินมากเกินไป ถึงแม้ว่าผลไม้ให้สารอาหารที่ดีและ มีใยอาหารแต่ผลไม้ก็มีนํ้าตาลอยู่ด้วย สําหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรเลือกผลไม้สดที่มีรสหวานน้อย วันละ 2-3 ส่วน และจัดเป็นอาหารว่างแทนขนม

7. เลี่ยงหรือจํากัดนํ้าผลไม้ เพราะจะได้รับนํ้าตาลมากเกินความต้องการและไม่ได้ใยอาหารและสารอาหารที่ดีที่มีในผลไม้สด


อิ่มอร่อยได้สุขภาพ


แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน) ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)


ผักกาดขาว 240 กรัม 1 หัว

คื่นฉ่ายหั่น 40 กรัม4 ต้น

หมูเนื้อแดงสับ 80 กรัม 1 ขีด

เต้าหู้อ่อน 160 กรัม 1 หลอด

ซีอิ๊วขาว 10 กรัม 2 ช้อนชา

กระเทียม 10 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

พริกไทยป่น 4 กรัม 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. นำผักกาดขาวมาล้าง หั่นเป็นท่อน

ประมาณ 1 นิ้ว และเต้าหู้อ่อนหั่นเป็นชิ้น

2. ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ซีอิ๊วขาว กระเทียม

ใส่หมูสับ เต้าหู้ และผักกาดขาว

พอเดือดตักใส่ถ้วย โรยด้วยคื่นฉ่าย

และพริกไทยป่น


แกงใบย่านางสารพัดเห็ด

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)


ใบย่านางแก่ 20 กรัม 1 ถ้วยตวง

เห็ดฟาง 25 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

เห็ดนางฟ้า 20 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

เห็ดหูหนูขาว 20 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

เห็ดหอมสด 20 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

ยอดผักหวาน 40 กรัม 1 ถ้วยตวง

บวบหอม 25 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

ใบแมงลัก 8 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง

ตะไคร้หั่นแฉลบ 16 กรัม 2 ต้น

ใบมะกรูด 4 กรัม 10 ใบ

ข่าหั่น 8 กรัม 1 ท่อน

หอมแดงบุบ 8 กรัม 2 หัว

พริกสดสีแดงบุบ 20 กรัม 3 เม็ด

น้ำปลา 10 กรัม 2 ช้อนชา

ฟักทอง 20 กรัม 1 / 4 ถ้วยตวง


วิธีทำ

1. ขยำใบย่านางกับน้ำเปล่า 2 ถ้วย

ให้น้ำมีสีเขียว กรองด้วยผ้าขาวบาง

นำน้ำที่ได้ใส่หม้อตั้งไฟ

2. ใส่ข่า ตะไคร้ใบมะกรูด หอมแดง

และพริกสด คนให้เข้ากันพอเดือด

3. ใส่ฟักทอง บวบ เห็ดต่างๆ ยอดผักหวาน

และใบแมงลัก รอจนสุกเดือด

ปรุงรสด้วยน้ำปลา คนให้เข้ากัน


แกงจืดฟักเขียวหมูสับ

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)

ฟักเขียว 160 กรัม 2 ถ้วยตวง

หมูสับ 80 กรัม 1 ขีด

คื่นฉ่าย 20 กรัม 2 ต้น

พริกไทยป่น 4 กรัม 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 15 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

กระเทียม 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

รากผักชี 20 กรัม 4 ราก

เห็ดหอม 20 กรัม 3 ดอก

น้ำซุป 600 กรัม 3 ถ้วยตวง


วิธีทำ

1. นำฟักเขียวมาปอกเปลือก คว้านไส้ออก

หั่นเป็นชิ้นขนาด 1 นิ้ว

2. นำเห็ดหอมแช่น้ำจนนิ่ม แล้วหั่นเป็นเส้น

3. นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่รากผักชี

กระเทียม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ใส่หมูสับ

ปั้นเป็นก้อน ใส่ฟักเขียวต้มจนฟักนุ่ม

และเห็ดหอม รอเดือดยกลง เวลาเสิร์ฟ

โรยด้วยคื่นฉ่ายและพริกไทยป่น



ผัดน้ำเต้ากับเห็ดหอม

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)


น้ำเต้าหั่น 160 กรัม 2 ถ้วยตวง

เห็ดหอมสด 20 กรัม 5 ดอก

กระเทียมสับ 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

พริกไทยป่น 4 กรัม 1 ช้อนชา

ซีอิ๊วขาว 10 กรัม 2 ช้อนชา

น้ำมันถั่วเหลือง 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

พริกชี้ฟ้าแดง 10 กรัม 1 เม็ดหั่นแฉลบ


วิธีทำ

1. แช่และล้างเห็ดหอมให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นบางๆ

กรองน้ำแช่เห็ดหอมเตรียมไว้

2. ปอกน้ำเต้า หั่นเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 นิ้ว

พักไว้

3. ตั้งกระทะใส่น้ำมันเจียวกระเทียมพอเหลือง

ใส่น้ำเต้าลงไปผัดจนนิ่ม ใส่เห็ดหอม

เติมน้ำแช่เห็ดที่กรองไว้เล็กน้อย ใส่ซีอิ๊วขาว

พริกไทยป่น และพริกชี้ฟ้าแดง ยกลง


สลัดผักรวมใส่ถั่วแดง

ส่วนประกอบ (สำหรับ 1 คน)


ถั่วแดงหลวงต้ม 15 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

ข้าวโพด 20 กรัม 1 1 / 2 ช้อนกินข้าว

ผักกาดแก้ว 10 กรัม 2 ใบ

มะเขือเทศราชินี 10 กรัม 5

ลูก แตงร้าน 20 กรัม 1 / 2 ลูก

กะหล่ำปลีม่วง 10 กรัม 2 ใบ

พริกหวานแดง 10 กรัม 1 แว่น

หอมหัวใหญ่ 10 กรัม 1 แว่น

แครอท 10 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

ลูกเดือยต้ม 10 กรัม 1 / 2 ถ้วยตวง


ส่วนประกอบ น้ำสลัด

ซอสมะเขือเทศ 10 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

ซอสพริก 10 กรัม 1 ช้อนกินข้าว

น้ำมะนาว 5 กรัม 1 ช้อนชา

พริกไทยป่น 1 กรัม

น้ำมันถั่วเหลือง 5 กรัม 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. เตรียมน้ำสลัด โดยนำซอสพริก

ซอสมะเขือเทศ น้ำมะนาว

น้ำมันถั่วเหลือง และพริกไทยป่น

มาปั่นให้ละเอียดจนเนียนเป็น

เนื้อเดียวกัน

2. นำผักที่หั่นเป็นชิ้นพอคำมาจัดจาน

และโรยด้วยถั่วแดงและนำน้ำสลัด

วางข้างจาน ราดพร้อมเสิร์ฟ


แกงจืดสามสหาย

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)


เนื้อปลาหั่นบางๆ 80 กรัม 1/ 2 ถ้วยตวง

กุ้งหั่นบางๆ 80 กรัม 1/ 2 ถ้วยตวง

เนื้อไก่หั่นบางๆ 80 กรัม 1/ 2 ถ้วยตวง

รากผักชี 12 กรัม 3 ราก

กระเทียม 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

ต้นหอม 40 กรัม 1/ 2 ถ้วยตวง

ผักชี 20 กรัม 3 ต้น

กะหล่ำปลี 280 กรัม 1 หัว

ซีอิ๊วขาว 10 กรัม 2 ช้อนชา

แครอท 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

น้ำซุป 600 กรัม 3 ถ้วยตวง

พริกไทย 4 กรัม 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. นำเนื้อปลา ไก่ และกุ้ง ที่หั่นบางๆ

แล้วมัดรวมกัน ห่อด้วยใบกะหล่ำปลี

ที่ลวกแล้ว แล้วมัดเข้าด้วยกันด้วย

ใบต้นหอมลวก

2. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด

ใส่รากผักชี พริกไทยกระเทียมที่โขลก

แล้วลงไป

3. เมื่อน้ำเดือดใส่กะหล่ำปลีที่มัดแล้ว

ลงในหม้อต้มพอเดือดอีกครั้ง ใส่แครอท

ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวแล้วใส่ต้นหอม

ผักชี พริกไทยอ่อนลงไป ตักใส่ถ้วย

พร้อมเสิร์ฟ


ยำปลาทู

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)


ปลาทูนึ่ง 80 กรัม 2 ตัว

ขิงซอย 100 กรัม 1 ถ้วยตวง

พริกขี้หนูซอย 20 กรัม 2 ช้อนกินข้าว

หอมแดงซอย 100 กรัม 1 ถ้วยตวง

น้ำมะนาว 60 กรัม 4 ช้อนกินข้าว

น้ำปลา 10 กรัม 2 ช้อนชา

ผักกาดขาว 80 กรัม 2 ใบ

ต้นหอมซอย 40 กรัม 1/2 ถ้วยตวง

ผักชีซอย 40 กรัม 1/2 ถ้วยตวง

ตะไคร้ซอย 100 กรัม 1 ถ้วยตวง


วิธีทำ

1. ปลาทูนึ่งแล้วแกะก้างออก เอาแต่เนื้อ

จากนั้นใช้ส้อมยีปลาทูเป็นชิ้นเล็กๆ

2. ผสมเครื่องปรุงทั้งหมดคลุกเคล้ากับ

ปลาทู ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา

คลุกให้เข้ากัน ตักใส่จานที่รองด้วย

ผักกาดขาว


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

bottom of page